บริการผู้ป่วย ศูนย์โรคสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลรามคำแหง

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

 

ศูนย์โรคสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

 

บริการวินิจฉัยรักษาฟื้นฟู รวมถึงตรวจเพื่อป้องกันโรคทางระบบประสาทสมองและไขสันหลัง อย่างครอบคลุมครบวงจร ซึ่งความผิดปกติของระบประสาทสมองและไขสันหลังอาจนำไปสู่ความพิการและทุพพลภาพหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทวิทยาและศัลยกรรมระบบประสาทโรงพยาบาลรามคำแหง

 

ศูนย์โรคสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลรามคำแหง ประกอบด้วย 

 

  1. อายุรกรรมประสาท ประกอบด้วย
    • ศูนย์อัมพาตเฉียบพลัน
      บริการรักษาพยาบาลโรคหลอดเลือดในสมองที่ทำให้หลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ก่อผล ทำให้มีอาการที่เรียกว่า อัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต เพื่อการรักษาที่ดี โรงพยาบาลรามคำแหงมีระบบ Stroke Fast track ในการรองรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เริ่มมีอาการภายใน 4.5 ชม.  โดยทางโรงพยาบาลได้จัดเตรียมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการดูแล
      •  โรคปวดหัว
      • โรคสมองและระบบประสาท
      • โรคหลอดเลือดสมองตีบ
      • การตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่คอตีบ
    • หลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน
      ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชม. แพทย์จะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมอง (ถ้าผู้ป่วยไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา) หรือพิจารณาในการทำหัตถการโดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัยมาใช้ในการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทาง Interventionist
    • หลอดเลือดสมองแตก
      ท่านจะได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมสมอง อาจต้องได้รับการผ่าตัดในผู้ป่วยบางราย
    • แผนกปวดศีรษะ (Headache)
      นอกจากคลินิคเฉพาะทางแล้ว ศูนย์โรคระบบประสาทสมองโรงพยาบาลรามคำแหงยังให้บริการโรคที่เกี่ยวกับสมองและระบบประสาทอื่นๆ เช่น
      • โรคปวดศีรษะ
      • โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก รักษาด้วยการฉีดยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน
      • เวียนศีรษะ (Vertigo)
      • โรคของเส้นประสาท เช่น ชามือ ชาเท้า (Neuropathy)
      • อาการปวดที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปวดแสบปวดร้อน, ปวดคล้ายไฟช๊อต, ปวดคล้ายเข็มแทง (Neuropathic pain)
      • โรคความผิดปกติเกี่ยวกับความจำ (Dementia /Alzheimer)
      • โรคลมชักหรืออาการวูบ (Epilepsy / Seizure)
      • โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ และ พาร์กินสัน
      • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้ออักเสบ
      • ภาวะการนอนผิดปกติ (Sleep Disorder)
  • การตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ (Sleep test)
  • เครื่องนำวิถี (Navigator) ช่วยกำหนดเป้าในการผ่าตัดรักษาโรคในสมองและไขสันหลัง
  • กล้องจุลทรรศน์สำหรับผ่าตัด (Operating microscope)
  • กล้องส่องผ่าตัดขนาดเล็ก (Endoscope)
  • เครื่องสลายก้อนเนื้องอกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonic Surgical Aspirator)
  • เครื่องกรอกะโหลกศีรษะความเร็วสูง (High speed drill)
  1. ศัลยกรรมประสาท
    ศูนย์โรคสมองและระบบประสาทโรงพยาบาลรามคำแหง ประกอบด้วยทีมแพทย์ศัลยกรรมประสาทที่พร้อมให้การรักษาและให้คำปรึกษากับผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทสมองและไขสันหลังที่ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด โรงพยาบาลรามคำแหงมีเทคโนโลยีเครื่องมือผ่าตัดอันทันสมัย เช่น กล้องผ่าตัด Microscope, กล้องส่องผ่าตัดขนาดเล็ก Endoscope, เครื่องนำวิถี navigator ให้บริการโรคทางศัลยกรรมประสาท ดังนี้ 
    • อุบัติเหตุที่ศีรษะ (Head injury)
    • เนื้องอกในสมอง
    • หลอดเลือดในสมองแตก
    • หลอดเลือดในสมองโป่งพอง (Cerebral aneurysm)
    • หลอดเลือดขอดในสมองและไขสันหลัง (Arteriovenous malformation : AVM)
    • เนื้องอกในโพรงกระดูกสันหลัง
    • ผ่าตัดโรคทางสมอง, กระดูกคอและกระดูกสันหลัง, หมอนรองกระดูก, โรคทางไขสันหลังโดยกล้องจุลศัลยกรรม (Microsurgery)
    • เส้นเลือดกดทับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (Trigeminal neuralgia)
    • เส้นเลือดกดทับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Hemifacial spasm)
    • ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม กดทับเส้นประสาท ที่คอ หรือหลัง
    • ผ่าตัดรักษาน้ำคั่งในโพรงสมองในผู้สูงอายุ
    • รักษาโรคหลอดเลือดสมอง โดยการสวนหลอดเลือด
    • ผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมองด้วยกล้องผ่านทางจมูก
    • รักษาโรคมือชา เนื่องจากผังผืดข้อมือกดรัดเส้นประสาท
    • ผ่าตัดขยายโพรงกระดูกสันหลังในโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบ (spinal stenosis)
    • ผ่าตัดรักษาโรคข้อกระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis)

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคทางสมองและระบบประสาท
 

ศูนย์โรคสมองและระบบประสาทโรงพยาบาลรามคำแหง พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของระบบประสาทสมองและไขสันหลัง ดังนี้

  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI, FMRA) (Functional magnetic Resonance imagirg)
  • เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Transcranial Magnetic Stimulation TMS)
  • เครื่องตรวจจับคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อแบบพกพาร่วมกับการฉีดยาโบทูลินั่ม ที่ยกขึ้น (Portable Electroencephalography for guided injection : Portable EMG
  • เครื่องอัลตราซาวด์หลอดเลือดที่คอ (Carotid duplex ultrasounds)
  • เครื่องอัลตราซาวด์หลอดเลือดในกระโหลกศีรษะ (Transcranial Doppler ultrasounds : TCD )
  • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography : EEG )
  • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง 24 ชั่วโมง (Monitoring 24 hour)
  • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography study : EMG)
  • เครื่องตรวจการนำกระแสประสาท (Nerve conduction study : NCS)
  • การฉีดสีเข้าเส้นเลือดสมอง (Cerebral Angiography)
  • การตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ (Sleep test)
  • เครื่องนำวิถี (Navigator) ช่วยกำหนดเป้าในการผ่าตัดรักษาโรคในสมองและไขสันหลัง
  • กล้องจุลทรรศน์สำหรับผ่าตัด (Operating microscope)
  • กล้องส่องผ่าตัดขนาดเล็ก (Endoscope)
  • เครื่องสลายก้อนเนื้องอกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonic Surgical Aspirator)
  • เครื่องกรอกะโหลกศีรษะความเร็วสูง (High speed drill)

 

 

 

 

 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณณีรดา ปรีเปรม

อดีตผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

“คำว่าเนื้องอกมันเป็นอะไรที่ไกลตัวเรามาก เรารู้สึกว่าเราเด็กมาก 
จนมาคิดว่า นี่ฉันต้องเป็นเนื้องอกหรอ”

คุณณีรดา ปรีเปรม อดีตผู้ป่วยเนื้องอกในสมองอายุ 24 ปี ในวัยเพียงเท่านี้ถือว่ามีโอกาสเพียงแค่ 1 ใน 100 เท่านั้นที่จะเป็น หลังจากที่มีอาการเวียนหัวอยู่บ่อยครั้ง วนเวียนเข้าออกโรงพยาบาลมาหลายที่ ทานยาเท่าไหร่ก็ไม่หาย ในที่สุดคุณณีรดาก็มีอาการปวดหัวจี๊ด เจ็บๆหายๆ 5-6 วันติดต่อกัน นอนหรือทำงานไม่ได้เลยจนต้องเข้ามาหาหมอ
ที่โรงพยาบาลรามคำแหง


“ตอนแรกตรวจเบื้องต้นก็ได้ยาไปกิน เพราะสันนิษฐานว่าเป็นไมเกรนจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราและการตรวจอื่นๆที่ไม่พบอาการผิดปกติ
แต่พอเอายาไปกินก็ยังไม่ดีขึ้นเลยกลับไปหาหมอใหม่ คราวนี้คุณหมอส่งเข้า MRI เลยผลออกมาปรากฏว่า เรามีเนื้องอกอยู่ที่ต่อมใต้สมอง”

พอรู้อย่างนั้นก็ช๊อกนะ ความคิดหลายอย่างมันก็ประเดประดังเข้ามา
คุณหมอก็อธิบายถึงการรักษาว่ามีการผ่าตัดกับกินยา ตอนแรกเราจะเลือกกินยา เพราะเรากลัวการผ่าตัด กลัวโดนเจาะสมอง กลัวห้องผ่าตัดจากภาพจำที่มีไฟสีส้มๆ ผ้าสีเขียวเปื้อนเลือดเต็มไปหมด แต่การกินยามันก็มีข้อแม้คือเราต้องกินไปตลอดชีวิต แถมก้อนเนื้องอกมันก็ไม่หายไปแค่ฝ่อลงเท่านั้น เราเลยขอเวลาคุณหมอตัดสินใจ ขอปรึกษาครอบครัว
คุณหมอก็เคารพเรานะ ไม่ได้กดดันอะไร เพราะหมอเขาก็คงรู้ว่าเรากลัว”

สุดท้ายเราตัดสินใจ เลือกการผ่าตัด คุณหมอก็บอกว่ามันไม่ใช่การผ่าตัดแบบที่เราคิดนะ เราไม่ต้องเจาะกะโหลก เป็นการผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางจมูกมีแผลนิดเดียว ก่อนเข้าผ่าตัดคุณหมอตรวจเราละเอียดมาก มากจนกระทั่งเราคิดว่า มันต้องขนาดนี้เลยหรอ แต่ก็ดีนะ มันหมายถึงความใส่ใจของเขา พอเข้าห้องผ่าตัดบรรยากาศมันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด คุณหมอพยาบาลยิ้มแย้มสอบถามอาการกับเราตลอด เราดมยาสลบแล้วก็หลับไป ตื่นมาเราไม่เจ็บเลย รู้สึกดีมากจนหายกลัวการผ่าตัดไปเลย เราพักฟื้นอยู่แค่ 2 คืน ก็กลับบ้านได้แล้ว หลังจากนั้นก็เป็นการดูแลแผลในจมูกจากการผ่าตัดนิดหน่อย ไม่ถึง 15 วันแผลก็หายดี

หลายคนบอกเราว่าทำไมเลือกโรงพยาบาลนี้ ที่นี่ทำให้เรามั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เขาพร้อม คุณหมอเก่ง ไม่ต้องรอว่าจะได้รักษาเมื่อไหร่ บางเรื่องมันรอไม่ได้ถูกมั้ย? การบริการที่นี่ก็ดีคุณหมอ พยาบาล แม้แต่บุคลากรก็ดูแลเราเป็นอย่างดี ถ้าเราจ่ายมากขึ้นอีกหน่อย แล้วเราได้อะไรดีๆกลับมา ได้ชีวิตใหม่กลับมา เราว่าเรายอมจ่าย”

  • โรคพาร์กินสัน

  • ปวดหัวบ่อย ปวดนาน กินยาแก้ปวดก็ยังไม่หาย อาจเสี่ยงเป็น "โรคไมเกรน"

  • รู้จักและเข้าใจ "โรคอัลไซเมอร์”

  • ปวดศีรษะจากความเครียด

  • ทำไงดี? อยากนอนหลับ แต่นอนไม่หลับ

  • ปวดหัวเรื้อรัง สาเหตุเกิดจากอะไร?

  • หากเกิดอาการชัก มีวิธีรับมืออย่างไร?

  • ภาวะหลอดเลือดตีบที่คอ รู้เร็ว-รักษาได้

  • วัคซีนโควิด-19 กับโรคทางระบบสมอง

  • พาร์กินสัน โรคทางสมองที่ไม่ใช่แค่อาการสั่น

  • โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซึก

  • การป้องกันหลอดเลือดสมองตีบควรปฎิบัติตัวอย่างไร?บ้าง

  • แขน ขา อ่อนแรง อาการสัญญาณเตือนนี้ กำลังบอกอะไร?

  • สัญญาณเตือนของอาการปวดศีรษะเรื้อรัง

  • โรคสมองเสื่อมแท้และโรคสมองเสื่อมเทียม

  • โรคซึมเศร้า กับการรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS

  • โรคหลอดเลือดตีบที่คอ

  • น้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมอง

  • การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

  • การดูแลผู้ป่วยที่บาดเจ็บทางศีรษะจากอุบัติเหตุ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณณีรดา ปรีเปรม

อดีตผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

“คำว่าเนื้องอกมันเป็นอะไรที่ไกลตัวเรามาก เรารู้สึกว่าเราเด็กมาก 
จนมาคิดว่า นี่ฉันต้องเป็นเนื้องอกหรอ”

คุณณีรดา ปรีเปรม อดีตผู้ป่วยเนื้องอกในสมองอายุ 24 ปี ในวัยเพียงเท่านี้ถือว่ามีโอกาสเพียงแค่ 1 ใน 100 เท่านั้นที่จะเป็น หลังจากที่มีอาการเวียนหัวอยู่บ่อยครั้ง วนเวียนเข้าออกโรงพยาบาลมาหลายที่ ทานยาเท่าไหร่ก็ไม่หาย ในที่สุดคุณณีรดาก็มีอาการปวดหัวจี๊ด เจ็บๆหายๆ 5-6 วันติดต่อกัน นอนหรือทำงานไม่ได้เลยจนต้องเข้ามาหาหมอ
ที่โรงพยาบาลรามคำแหง


“ตอนแรกตรวจเบื้องต้นก็ได้ยาไปกิน เพราะสันนิษฐานว่าเป็นไมเกรนจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราและการตรวจอื่นๆที่ไม่พบอาการผิดปกติ
แต่พอเอายาไปกินก็ยังไม่ดีขึ้นเลยกลับไปหาหมอใหม่ คราวนี้คุณหมอส่งเข้า MRI เลยผลออกมาปรากฏว่า เรามีเนื้องอกอยู่ที่ต่อมใต้สมอง”

พอรู้อย่างนั้นก็ช๊อกนะ ความคิดหลายอย่างมันก็ประเดประดังเข้ามา
คุณหมอก็อธิบายถึงการรักษาว่ามีการผ่าตัดกับกินยา ตอนแรกเราจะเลือกกินยา เพราะเรากลัวการผ่าตัด กลัวโดนเจาะสมอง กลัวห้องผ่าตัดจากภาพจำที่มีไฟสีส้มๆ ผ้าสีเขียวเปื้อนเลือดเต็มไปหมด แต่การกินยามันก็มีข้อแม้คือเราต้องกินไปตลอดชีวิต แถมก้อนเนื้องอกมันก็ไม่หายไปแค่ฝ่อลงเท่านั้น เราเลยขอเวลาคุณหมอตัดสินใจ ขอปรึกษาครอบครัว
คุณหมอก็เคารพเรานะ ไม่ได้กดดันอะไร เพราะหมอเขาก็คงรู้ว่าเรากลัว”

สุดท้ายเราตัดสินใจ เลือกการผ่าตัด คุณหมอก็บอกว่ามันไม่ใช่การผ่าตัดแบบที่เราคิดนะ เราไม่ต้องเจาะกะโหลก เป็นการผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางจมูกมีแผลนิดเดียว ก่อนเข้าผ่าตัดคุณหมอตรวจเราละเอียดมาก มากจนกระทั่งเราคิดว่า มันต้องขนาดนี้เลยหรอ แต่ก็ดีนะ มันหมายถึงความใส่ใจของเขา พอเข้าห้องผ่าตัดบรรยากาศมันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด คุณหมอพยาบาลยิ้มแย้มสอบถามอาการกับเราตลอด เราดมยาสลบแล้วก็หลับไป ตื่นมาเราไม่เจ็บเลย รู้สึกดีมากจนหายกลัวการผ่าตัดไปเลย เราพักฟื้นอยู่แค่ 2 คืน ก็กลับบ้านได้แล้ว หลังจากนั้นก็เป็นการดูแลแผลในจมูกจากการผ่าตัดนิดหน่อย ไม่ถึง 15 วันแผลก็หายดี

หลายคนบอกเราว่าทำไมเลือกโรงพยาบาลนี้ ที่นี่ทำให้เรามั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เขาพร้อม คุณหมอเก่ง ไม่ต้องรอว่าจะได้รักษาเมื่อไหร่ บางเรื่องมันรอไม่ได้ถูกมั้ย? การบริการที่นี่ก็ดีคุณหมอ พยาบาล แม้แต่บุคลากรก็ดูแลเราเป็นอย่างดี ถ้าเราจ่ายมากขึ้นอีกหน่อย แล้วเราได้อะไรดีๆกลับมา ได้ชีวิตใหม่กลับมา เราว่าเรายอมจ่าย”