ประทับใจบรรยากาศภายในห้องรอคลอด ความสะดวก และพยาบาลดูแลดีมาก

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

 

ศูนย์อัมพาตเฉียบพลันโรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

ศูนย์สมองที่ให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจนและวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีการขยายหลอดเลือดตีบที่คอ...ป้องกันอัมพาต

 

 


หลอดเลือดสมองตีบ สาเหตุของการเกิดอัมพาตเฉียบพลัน อาการของผู้ป่วยมีได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าสมองส่วนใดได้รับความสูญเสีย ส่วนมากจะแสดงอาการใบหน้า แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีดหนึ่ง มีอาการชา ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ ปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน ซึ่งอาการเหล่านี้บ่งบอกว่าอาจจะมีความผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบตัน

 

 

 

สำหรับวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันนั้น 

 

  • การตรวจด้วยเครื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งสามารถตรวจดูภาพหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองได้ดี
  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) สามารถบอกได้ว่าหลอดเลือดในสมองมีการแตกหรือตีบตัน
  • การฉีดสีเพื่อดูตำแหน่งของการตีบตันภายในสมองด้วยเครื่อง CATH LAB ภาพที่ได้จะสามารถเห็นมุมของหลอดเลือดสมองขณะทำการรักษาได้ในรูปแบบ 3 มิติ 2 ระนาบ

 

    CATH LAB

 

การตรวจหาหลอดเลือดตีบที่คอสาเหตุของการเกิดอัมพาตเฉียบพลัน
 

สำหรับการตรวจหาความผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มนี้นั้นสามารถตรวจด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพหลายอย่าง อาทิ การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง หรืออาจตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและโดยเฉพาะการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์หลอดเลือด ซึ่งนอกจากจะเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว ยังมีความรวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการตรวจด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวด้วย และช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจนและวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

เทคโนโลยีการขยายหลอดเลือดตีบที่คอ...ป้องกันอัมพาต 
 

โดยนำตัวผู้ป่วยเข้าตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อหาตำแหน่งที่แม่นยำก่อนการรักษาด้วยการทำบอลลูน ลักษณะเดียวกับการขยายหลอดเลือดที่หัวใจการรักษาหลอดเลือดตีบตันด้วยการขยายหลอดเลือดนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณ์คล้ายร่มสอดเข้าไปก่อนเพื่อรองรับเศษผนังหลอดเลือดและก้อนเลือดขณะทำการขยายหลอดเลือดเพื่อป้องกันมิให้เศษเล็กเศษน้อยดังกล่าวไหลไปอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จากนั้นจึงทำการสอดสายสวนเข้าไปยังหลอดเลือดและสอดขดลวดค้ำยันเข้าไป ณ. ตำแหน่งหลอดเลือดเป้าหมายบริเวณลำคอเพื่อค้ำผนังหลอดเลือดไว้และเปิดทางให้เลือดไหลได้สะดวกตามปกติ